ข้อมูลจังหวัดภูเก็ตโดยสังเขป
ภูเก็ต ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามีมนุษย์อาศัยใน ดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปีมาแล้ว และได้มีหลักฐานการกล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.700 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า "แหลมตะโกลา" เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่ารอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้นที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ
-->
ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ.ศ.700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า "แหลมตะโกลา" แล้วได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึงผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรป ระหว่างพ.ศ. 2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า "จังซีลอน" นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขานผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า "มณิคราม" หมายถึงเมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ"ภูเก็จ" ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ.2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อยๆ จนกลายเป็น "ภูเก็ต" ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน นั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็ต และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย ภูเก็ต เป็นชื่อปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ใช้คำว่า ภูเก็จ แปลว่าเมืองแก้วตามหลักฐานที่ปรากฏเมื่อ พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งของจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพร ลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยศรีวิชัยและสมัยอาณาจักรนครศรีธรราชาติเรียกเกาะภูเก็ตว่า “เมืองตะกั่วทุ่ง” เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตรโดยใช้ตราประจำเมืองเป็นรูปสุนัขจนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลาง ขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกที่เมืองภูเก็ต ดังนั้นเกาะภูเก็ตตอนเหนือและตอนกลางมีคนไทยปกครองส่วนทางตะวันตกและตอนใต้ ของเกาะภูเก็ตเป็นเมืองซึ่งมีชาวต่างชาติเข้ามารับซื้อแร่ดีบุก สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นพม่ายกทัพมาตีหัวเมืองต่างๆ จนถึงเมืองถลาง ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งถึงแก่อนิจกรรมคุณหญิงจันภริยาและคุณมุกน้องสาว จึงรวบรวมกำลังพลต่อสู้กับพม่าจนแตกพ่ายแพ้ไปในที่สุด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2238 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งคุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรีและคุณมุก เป็นท้าวศรีสุนทร ต่อมาเมื่อภูเก็ตเจริญเติบโตขึ้นจากการค้าและเหมืองแร่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวได้รวบรวมหัวได้รวบรวมหัวเมืองชาย ฝั่งทะเลตะวันตกเป็นมณฑลภูเก็ตและเมื่อ พ.ศ.2476 ได้ยกเลิกมณฑลภูเก็ตและเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต
-->
ขอบคุณเนื่อหาดีๆ จากทัวร์ภูเก็ตมีดี www.phuketmeedee.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น